วันศุกร์, 19 เมษายน 2024
รุ่นก่อนหน้า-ข้อมูลโครงการ

โครงการฝึกอบรม”สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 2

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้กำหนดจัดโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 6 – 10 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมพีลูส ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรม ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผ่นแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 และยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถจัดทำข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมที่มีการบูรณาการระหว่างสาขาและตอบโจทย์การท้าทายของสังคมที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ได้

⏩ โครงสร้างหลักสูตร

ประกอบด้วยภาคทฤษฎี จำนวน 19 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 19 ชั่วโมง และภาคกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2 ชั่วโมง รวม 40 ชั่วโมง รายละเอียดดังนี้

ภาคทฤษฎี ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 19 ชั่วโมง ดังนี้

หมวดที่ 1ปรัชญาการวิจัย จรรยาบรรณนักวิจัย และจริยธรรมการวิจัย1 ชั่วโมง
หมวดที่ 2การกำหนดโจทย์การวิจัย2 ชั่วโมง
หมวดที่ 3การทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์วรรณกรรม กรอบแนวคิด และสมมติฐานการวิจัย2 ชั่วโมง
หมวดที่ 4การออกแบบการวิจัย
1.รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ การกำหนดขนาดตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูล
2.รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการวิเคราะห์ข้อมูล
3.รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
9 ชั่วโมง
หมวดที่ 5แนวคิดเกี่ยวกับการวัด ปัจจัยที่มีผลต่อความคลาดเคลื่อนจากการวัดและการตรวจสอบคุณภาพความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย (เน้นเครื่องมือวัดเชิงปริมาณ)2 ชั่วโมง
หมวดที่ 6หลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรม และหลักการประยุกต์งานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์3 ชั่วโมง

ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 19 ชั่วโมง ดังนี้

ปฏิบัติการที่ 1การกำหนดโจทย์และบูรณาการความคิดร่วมกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อกำหนดปัญหาการวิจัยในแต่ละพื้นที่ และสรุปการกำหนดโจทย์วิจัย คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์2 ชั่วโมง
ปฏิบัติการที่ 2ฝึกปฏิบัติเขียนการทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์วรรณกรรม กรอบแนวคิดการสังเคราะห์วรรณกรรม และสมมติฐานการวิจัย(ถ้ามี)2 ชั่วโมง
ปฏิบัติการที่ 3ฝึกปฏิบัติการออกแบบการวิจัย8 ชั่วโมง
ปฏิบัติการที่ 4ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยกลุ่ม และการขยายผลการนำผลงานวิจัยต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์3 ชั่วโมง
ปฏิบัติการที่ 5นำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยกลุ่ม และนำเสนอช่องทางการนำผลงานวิจัยต่อยอดการใช้ประโยชน์3 ชั่วโมง
ปฏิบัติการที่ 6บูรณาการความรู้และเสนอการสร้างเครือข่ายวิจัยจากการฝึกอบรม1 ชั่วโมง

กิจกรรมเสริมหลักสูตร จำนวน 2 ชั่วโมง

  • พิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม
  • การปฐมนิเทศผู้เข้ารับการฝึกอบรม แนะนำสมาชิก และปัจฉิมนิเทศ
  • โฮมรูม (Homeroom) ประจำวัน• กิจกรรมสานสัมพันธ์และสร้างเครือข่าย
  • เลือกกรรมการรุ่น
  • การประชุมกลุ่มเฉพาะ เพื่อพัฒนาหลักสูตร
  • รับวุฒิบัตร
  • อื่นๆ เช่น ศึกษาดูงานนอกสถานที่ การใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อการมีส่วนร่วม การละลายพฤติกรรม และสันทนาการ เป็นต้น

⏩ รูปแบบการจัดการฝึกอบรม วันเวลา สถานที่

• จัดอบรมแบบ Onsite
• ระหว่างวันที่ 6 – 10 มิถุนายน 2565 เวลา 08.00 – 20.00 น.
• ณ โรงแรมพีลูส ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

⏩ คุณสมบัติผู้สมัคร/จำนวนที่เปิดรับ

✔ วุฒิปริญญาตรีขึ้นไป หรือเทียบเท่า
✔ อายุไม่เกิน 50 ปี ณ ปีที่สมัคร
✔ สัญชาติไทย
✔ ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน หรือหน่วยงานท้องถิ่น
ไม่มีประสบการณ์ด้านการวิจัย หรือมีประสบการณ์ด้านการวิจัยไม่เกิน 2 ปี และไม่เคยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย(จากแหล่งทุนภายนอกต้นสังกัด)
ไม่มีตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือสูงกว่า
ไม่มีตำแหน่งชำนาญการพิเศษหรือเทียบเท่า หรือสูงกว่า
✔ ได้รับการฉีดวัคซีน💉โควิด 19 มาแล้ว
✔ กรณีอื่นๆ ที่ไม่กำหนด ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจคณะทำงานฯ และ วช. พิจารณาเป็นรายกรณี
✔ เปิดรับจำนวนจำกัดเพียง 50 คนเท่านั้น

⏩ การสมัครเข้ารับการฝึกอบรม

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรม โดยไม่มีค่าลงทะเบียน ส่วนงบประมาณในการเดินทาง เบี้ยเลี้ยง ที่พัก และอื่นๆ ให้เบิกจ่ายจากต้นสังกัดตามระเบียบกระทรวงการคลัง แต่ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดให้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม โดยมีขั้นตอนการสมัคร ดังนี้

1️⃣ [ดาวน์โหลดใบสมัคร] และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
2️⃣ [ลงทะเบียน] ในระบบออนไลน์ พร้อมแนบไฟล์ประกอบการสมัคร ได้แก่ ใบสมัคร, รูปถ่าย และใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด 19 จากแอปพลิเคชันหรือไลน์”หมอพร้อม”(ถ้ามี)

สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2565 โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรมในวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ทางเว็บไซต์ https://uniserv.kru.ac.th/

download
1.ดาวน์โหลดใบสมัคร
กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
2.ลงทะเบียน
กรอกข้อมูลและแนบไฟล์ประกอบการสมัคร ส่งเข้าระบบ*
3.ตรวจสอบรายชื่อ
รายชื่อผู้สมัคร
รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรม
*จำเป็นต้องมีบัญชี google

⏩ แผนการป้องกันโควิด-19

แผนการดำเนินงานเพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19

กิจกรรม รายละเอียดการดำเนินการ เป้าหมาย/ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. การคัดกรองผู้เข้ารับการฝึกอบรม จัดการฝึกอบรมในรูปแบบ Onsite โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการฉีดวัคซีน 2 เข็มขึ้นไปทุกคน มีการตรวจ ATK มาก่อนเข้าอบรม และมีการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกครั้ง ผู้รับการฝึกอบรมและทีมงานมีรายงานการฉีดวัคซีน 2 เข็มขึ้นไป รวมถึงผลการตรวจ ATK มีการเฝ้าระวังและป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัด และมีการคัดกรองโดยการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าอบรมทุกครั้ง
2. การสวมหน้ากากอนามัยขณะเข้ารับการฝึกอบรม กำหนดและกำชับให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สวมหน้ากากอนามัยทุกคน และมีเจลล้างมือไว้คอยบริการเป็นจุด ๆ ตามความเหมาะสม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สวมหน้ากากอนามัยทุกคนและใช้เจลล้างมือทุกครั้ง
3. การรักษาระยะ จัดการฝึกอบรมในรูปแบบ Onsite และมีการกำชับให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เว้นระยะห่างตามมาตรฐานที่กำหนด ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการเว้นระยะห่างตามมาตรฐานที่กำหนด
4. การสนับสนุนอุปกรณ์ มีบริการหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีอุปกรณ์พื้นฐานในการป้องกันโควิด-19
5. การประชาสัมพันธ์ พิธีกรและวิทยากรจะมีการประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน เกิดความตระหนักและปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือด้วยดีตลอดการฝึกอบรม
6. กรณีฉุกเฉินหรือเร่งด่วน มีการเตรียมทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้เข้ารับการฝึกอบรมและทีมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน โดยจะเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกรณีฉุกเฉิน กรณีฉุกเฉินจะมีการประสานงานและมีการส่งต่อให้เข้ารับการบริการทางการแพทย์สาธารณสุขในพื้นที่ใกล้ที่สุดภายในเวลา 10 นาที